3/2 Phuet Udom Lam Luk Ka Pathum Thani 12150

ไมโครมิเตอร์ คืออะไรทำงานอย่างไร


ไมโครมิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดขนาดที่มีความแม่นยำสูง และสามารถวัดได้ทั้งหน่วยมิลลิเมตร (Metric) และหน่วยนิ้ว (Imperial) ให้ค่าวัดที่ละเอียดถึง 0.001 มิลลิเมตร ในการวัดแบบ Metric และ 0.0001 นิ้ว ในการวัดแบบ imperial ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้กับงานที่เกี่ยวกับวิศวะกร ที่ต้องการความแม่นยำสูง

ไมโครมิเตอร์ ให้ความแม่นยำในการวัดกว่าเครื่องวัดอื่นๆ เช่น เวอร์เนีย คาลิเปอร์ หรือ ไดอัล คาลิปเปอร์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าจำเป็นที่ต้องละเอียดขนาดไหน ซึ่งไมโครมิเตอร์ ใช้วัดความกว้าง ความยาว ความหนา ความต่างระดับ ความลึก หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ และเมื่อพูดถึงคำว่า ไมโครมอเตอร์ โดยรวมจะหมายถึง ไมโครมิเตอร์ภายนอก ตามภาพประกอบด้านล่าง

  • โครง (Frame) : ลักษณะเป็นรูปตัว C ทำหน้าที่ยึดส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีรูปทรงและขนาดที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานไมโครมิเตอร์ได้ตามต้องการ โดยทั่วไปบนโครงจะระบุแบรนด์ ช่วงการวัด และค่าความละเอียดแสดงไว้
  • แกนรับ (Anvil) : ลักษณะเป็นเพลากลมตันประกอบยึดอยู่กับโครง ใช้สำหรับรองรับชิ้นงานในขณะทำการวัด ทํามาจากเหล็กหล่อมีความแข็งแรงทนทาน
  • แกนหมุน (Spindle) : มีลักษณะเป็นเพลากลมอยู่คู่กับแกนรับ สามารถเคลื่อนเข้า-ออก เพื่อทำการวัดขนาดชิ้นงาน
  • ตัวยึดแกนหมุน (Spindle Lock) : ใช้ล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ ไมโครมิเตอร์บางรุ่นเป็นแบบหมุนนอต และบางรุ่นเป็นก้านเล็กๆ สามารถโยกเพื่อล็อกหรือคลายล็อก
  • ปลอกวัด (Sleeve) : ลักษณะเป็นก้านทรงกระบอก มีขีดสเกลหลักอยู่ตลอดความยาว และมีเส้นขีดยาวในแนวนอน เรียกว่า เส้นอ้างอิง (Index Line)
  • ปลอกหมุนวัด (Thimble) : มีลักษณะเป็นปลอกทรงกระบอกสวมอยู่กับก้านสเกล ทำหน้าที่หมุนแกนวัดเข้าหาชิ้นงาน มีขีดสเกลอยู่รอบเพื่ออ่านค่าละเอียด
  • หัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet knob) : อยู่ที่ปลายด้ามจับของไมโครมิเตอร์ ทำหน้าที่เป็นประแจวัดแรงบิดในตัว (Torque Wrench) เพื่อจำกัดแรงบิดป้องกันไม่ให้หมุนแกนวัดแน่นหรือหลวมเกินไป